FMS @ RMUDummyCompany

การปรับปรุงห้องธุรกิจจำลอง
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

โดยห้องธุรกิจจำลองเป็นการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานการณ์เสมือนจริงโดยการใช้ความรู้ทักษะวิชาชีพในสาขาวิชาต่าง ๆ ของสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ นอกจากนั้นได้รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์เพื่อสื่อสารข้อมูลของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Learn More

ประวัติและความเป็นมา(FMS@RMU Dummy Company)

บริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company) เป็น model การสอนที่เหมาะสำหรับนักศึกษาเรียนทางสายบริหารธุรกิจ เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำแผนธุรกิจมาปฏิบัติจริงให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ ในรูปแบบและระดับต่าง ๆ แบบครบวงจร ทั้งในด้านการบริหารงานและการฝึกฝนภาคสนาม โดยนักศึกษาสามารถทำงานตามที่ตนเองถนัดในแต่ละแผนกในสายการบริหาร การตลาด การเงินและการบัญชี การบริหารงานบุคคล หัวหน้าพนักงานขายและพนักงานขาย เป็นต้น โดยมีการวัดและประเมิน ในด้านการวางแผนและผลการดำเนินงาน การตลาด การบริหารบุคล การประชาสัมพันธ์ นวัตกรรม การทำประโยชน์เพื่อสังคม และการนำเสนอการศึกษาในปัจจุบันได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของห้องเรียนแบบดั้งเดิมโดยผสานการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับเนื้อหาการเรียน การเรียนรู้แบบจำลองสถานการณ์ (Simulation-based learning) จึงเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยม เพราะช่วยให้นักศึกษาสามารถทดลองและสำรวจผลลัพธ์จากการตัดสินใจต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ โดยไม่มีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์จริง ซึ่งทำให้พวกเขาเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและประสบการณ์ของตนเองได้โดยตรง

               นอกจากนี้ ยังใช้แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Experiential Learning ที่เชื่อว่าประสบการณ์ตรงเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้ที่แท้จริง นักศึกษาจะได้ทดลอง, สำรวจ, แก้ไขปัญหา, และตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและการตอบสนองของตลาด (Kolb, D. A. (1984) จากการเรียนรู้ด้วยการทำธุรกิจจริงนั้น นักศึกษามีความสนุกในการเข้าใจในทฤษฎีแนวคิดต่าง ๆรวมถึงการประยุกต์ใช้เนื่องจากบริบทของสินค้าและบริการ ตลอดจนทีมงานที่ต่างกัน ดังนั้นแนวทางการปรับปรุงการสอนในอนาคตจะให้นักศึกษาได้ทำการค้าผ่านทางออนไลน์ให้มากขึ้น

               1. มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ทางธุรกิจที่ได้เรียนจากห้องเรียนมาสู่การดำเนินธุรกิจจริง

               2. นักศึกษาได้เรียนรู้การบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบและครบวงจรและได้ดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การวางแผนทางธุรกิจ การระดมทุน การจัดตั้งองค์กรและระบบบริหาร การสรรหาบุคคลากรด้านขาย การเลือกสินค้า การเจรจาต่อรองและการสัญญากับบริษัทคู่ค้า การบริหารการตลาด และการจัดขาย การบริหารพนักงาน การบริหารสินค้าและการจัดซื้อ การบริหารการเงินและบัญชี การบริหารสำนักงาน

               3. นักศึกษานำทฤษฎีที่ได้ศึกษาทั้งหมดมาปรับเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทจำลอง

บริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company)

             บริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company) เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและนักธุรกิจมืออาชีพ นักศึกษาต้องเรียนรู้ที่จะคิด วางแผน และแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา และนั่นคือชีวิตจริงซึ่งหาไม่ได้จากในตำรา โดยนักศึกษาจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจขึ้น มีการจำลองโครงสร้างและรูปแบบการบริหารจัดการเสมือนการดำเนินธุรกิจจริง ตั้งแต่การวางแผน การเลือกธุรกิจและสินค้าหรือบริการที่จะดำเนินการ การหาช่องทางการตลาด การจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ จากนั้นจะเริ่มจัดองค์กรโดยการแบ่งสายงานตั้งแต่การบริหารงานบุคคล การรับสมัครพนักงาน การบริหารด้านการตลาด การขาย การวางรูปแบบบัญชีและการเงิน การกำหนดกลยุทธ์และการจัดการ โดยมีคณาจารย์และนักธุรกิจที่ปรึกษาเป็นผู้ให้คำปรึกษา ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาทักษะนักศึกษาผ่านบริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company)

การดำเนินกิจกรรมการธุรกิจจำลองนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะหลากหลายด้านเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล โดยจะต้องมีทักษะหลักที่จำเป็นดังนี้

  1. การวางแผนและการจัดการเวลา (Planning and Time Management): การวางแผนกระบวนการผลิตและการขาย ตลอดจนการจัดสรรเวลาในแต่ละรอบการขายและการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ.
  2. การทำงานเป็นทีม (Teamwork): การทำงานร่วมกันภายในกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน การสื่อสารและการประสานงานกับเพื่อนร่วมทีม.
  3. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills): การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเจรจาต่อรองกับพ่อค้า รวมถึงการแสดงและการอธิบายสินค้า.
  4. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking): การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของพ่อค้าเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การผลิตและการขาย.
  5. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity): การออกแบบและการสร้างเกล็ดหิมะที่มีความสวยงามและน่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ.
  6. การตัดสินใจ (Decision Making): การเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบจนถึงการกำหนดราคาสินค้า.
  7. การจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management): การจัดการกับความไม่ลงรอยหรือความขัดแย้งภายในทีมและการหาทางออกที่เหมาะสม.
  8. การเจรจาต่อรอง (Negotiation): การเจรจากับพ่อค้าและเพื่อนร่วมทีมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงที่ดีที่สุด.
  9. การจัดการกับความเครียด (Stress Management): การรับมือกับความเครียดที่เกิดจากการแข่งขันและความต้องการที่สูงในเกมการจำลอง.
10. การเรียนรู้จากความผิดพลาด (Learning from Mistakes): การรับรู้และการปรับปรุงจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงในรอบต่อไป.

ผลลัพธ์จากบริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company)

             การพัฒนาทักษะผ่านบริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company) จะช่วยให้นักศึกษาไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในการจำลองสถานการณ์นี้เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงในโลกธุรกิจและชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ผลลัพธ์จากการใช้การจำลองในการเรียนการสอนนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการทำงานและความท้าทายในธุรกิจจริง นักศึกษาเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สถานการณ์และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ การทดลองที่นักศึกษาได้ทำยังช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมินตลาดและการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในช่วงการประเมินผลท้ายเทอมนั้น รายวิชาได้ให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ความรู้ที่ได้ทำการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองไปทำการตลาดขายสินค้าจริง ซึ่งทุกกลุ่มนั้นจะต้องมีการลงทุนในการผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าเอง ซึ่งหลังจากดำเนินการขายและทำการสรุปบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้ว พบว่ามีผลประกอบการได้กำไรทุกกลุ่ม

             การสอนแบบจำลองสถานการณ์ให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ทฤษฎีที่เรียนในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้จริง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้นักศึกษามีความรู้และทักษะที่ต้องการสำหรับการทำงานในอนาคตเท่านั้น แต่ยังเตรียมให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้นำในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยความท้าทาย

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของบริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company)

           บริษัทจำลองคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (FMS@RMU Dummy Company) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึก ปฏิบัติในสถานการณ์จริง และฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกันเป็นทีม และนำรายวิชา ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานธุรกิจ ทั้งในเรื่องของการตลาด การจัดการ การผลิต การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการติดต่อประสานงาน  โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
            1. เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการอัจฉริยะ (Smart Entrepreneur) โดยการดำเนินการทุกส่วนจะต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อความรวดเร็วในการตัดสินใจทางธุรกิจ และลดต้นทุนทางธุรกิจด้วย

            2. เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานเป็นทีม และการตัดสินใจทางธุรกิจ ด้วยการมุ่งเน้นตามแนวคิดของบริษัทจำลอง

 

 

“บริษัทจำลองเป็นธุรกิจของนักศึกษาโดยนักศึกษา และเพื่อนักศึกษา”

Image

เว็บไซต์คณะ

เว็บไซต์สำนัก

เกี่ยวกับเว็บไซต์

สำหรับนักศึกษา

ช่องทางการติดต่อสังคมออนไลน์

อีเมล

rmufms@gmail.com

โทร

043-712-621

สถานที่ทำการ

อาคาร 34 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม